เมนู

สติปัฏฐานวรรคที่ 2


1. สิกขาสูตร


[267] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล
5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ ปาณาติบาต 1 อทินนาทาน 1
กาเมสุมิจฉาจาร 1 มุสาวาท 1 สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล 5 ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4
เพื่อละเหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล 5 ประการนี้แล สติปัฏฐาน 4
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4
นี้ เพื่อละเหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล 5 ประการนี้แล.
จบ สิกขาสูตรที่ 1

2. นิวรณสูตร


[268] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน คือ กามฉันทนิวรณ์ 1 พยาปาทนิวรณ์ 1 ถีนมิทธนิวรณ์ 1
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ 1 วิจิกิจฉานิวรณ์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นิวรณ์ 5 ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4
เพื่อละนิวรณ์ 5 ประการนี้แล สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้ เพื่อละนิวรณ์ 5
ประการนี้แล.
จบ นิวรณสูตรที่ 2

3. กามคุณสูตร


[269] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้ 5
ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้
แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้แล ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้
เพื่อละกามคุณ 5 ประการนี้แล.
จบ กามคุณสูตรที่ 3